วันพุธ, กรกฎาคม 26, 2549

คนไทยไม่กลัวโง่ แต่กลัวว่าคนอื่นจะคิดว่าเราโง่

กาแฟดำแห่งกรุงเทพธุรกิจเขียนไว้ได้ตรงใจมาก "คนไทยเราไม่กลัวโง่ แต่กลัวว่าคนอื่นจะคิดว่าเราโง่" คงไม่ต้องบรรยายอะไรเพิ่มเติ่มอีก :)


คนไทยเราต่างหากที่มี "ลีลา" และ "ฟอร์ม" มากเกินไป ความพยายามจะเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้นั้นถูกขัดขวางโดย "ความหน้าบาง" ของคนไทยเองที่ไม่กล้าถาม เพราะกลัวว่าการถามจะเป็นการ "แสดงความโง่" ของตัวเอง

ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและพม่า เขาถามทุกเรื่องที่เขาอยากรู้ เพราะเขาไม่กลัวว่าใครจะคิดว่าเขาโง่ เพราะพอเขาถามแล้วได้คำตอบจากผู้ที่รู้ วันรุ่งขึ้นเขาก็กลายเป็นคนฉลาดอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ถาม หรือไม่กล้าถาม ก็ยังจะต้องโง่ต่อไป

คนไทยเราไม่กลัวโง่ แต่กลัวว่าคนอื่นจะคิดว่าเราโง่ และนี่แหละคือที่มาของความไม่ฉลาดของเราทั้งหลายทั้งปวง

โดย กาแฟดำ



วิธีแก้
1. คนไทยแต่ละคนในสังคม เริ่มจากที่ตัวเอง ช่วยกันกำจัดค่านิยม "ไม่กลัวโง่แต่กลัวคนอื่นคิดว่าตัวโง่" โดยยอมรับในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ และมีความกระตื้อรือล้นที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ
2. ไม่ดูถูกผู้ที่ไม่รู้ ให้คิดว่าก่อนที่ตัวเองจะรู้ ตัวเองก็ไม่รู้มาก่อนเหมือนกัน

วันพุธ, กรกฎาคม 19, 2549

Individual Attitude to promote Thai open source

ทัศนะระดับบุคคลช่วยพัฒนาโอเพ่นซอร์สไทย

from IT destination blog



ถ้าเรายังทำเฉยๆ ไม่หนุนการใช้ลีนุกซ์/โอเพ่นซอร์สแบบจริงๆจังๆ แล้วล่ะก็วันนึง เราคงได้เสียเงินซื้อซอฟต์แวร์จากประเทศเพื่อนบ้านเราแน่ๆ หรือไม่ก็ถูกแรงงานไอทีของเค้าเข้ามาแย่งงานทำ หรือไม่อาจจะต้องเชิญเค้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการโอเพ่นซอร์สเป็นแน่แท้


วิธีแก้ (จากIT destination blog)
อันที่จริงแล้ว ทั่วโลกเค้าใช้กลไกขับเคลื่อนโอเพ่นซอร์สจากกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น
ทำงานชิ้นเล็กๆ แล้วจึงขยายผลไปทีละเล็กทีละน้อยจนเติบโตแข็งแกร่ง อย่างที่เห็นได้จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สหลายๆ ตัว แม้แต่เคอร์เนลลีนุกซ์ก็เกิดจากคนแค่ 2-3 คนริเริ่มขึ้นเท่านั้น

การที่จะทำให้ภาพความสำเร็จมีความกระจ่างชัดขึ้นได้นั้น จึงต้องเริ่มจากระดับตัวบุคคลก่อนไม่ใช่คาดหวังจากระดับองค์กรหรือภาครัฐ

ซึ่งการเริ่มต้นระดับบุคคลที่ว่านี้ มีหลัก 3 ประการ หรือ 3 ส. คือ

1. ส่วนรวม หมายถึง จะทำอะไรก็เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นความตั้งใจที่อยากเห็นสังคมส่วนรวม(ไอทีในประเทศของเรา) เจริญขึ้น พึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันมีเข้มแข็ง ถ้าแต่ละบุคคลตระหนักถึงประโยชน์ของส่วนรวมแล้วก็จะทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจและนำตนเองพ้นจากอคติทั้งหลาย

2. เสียสละ คือ ยอมที่จะเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีน้อยก็ให้น้อย มีมากก็ให้มาก ไม่ว่าจะเป็นแรงกาย ทรัพย์สิน เวลา สติปัญญา ความรู้ รวมไปถึงความรู้สึกคับข้องที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกับผู้อื่น หากนำความเสียสละคนละเล็กละน้อยมารวมกันย่อมเกิดกำลังที่มากขึ้นได้ซึ่งนำไปสู่ความเจริญของทุกฝ่ายในที่สุด

3. สนุก ข้อนี้สำคัญมาก บุคคลไม่ว่าจะเป็นใครหากทำงานด้วยความสนุกย่อมจะทำได้ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย สำเร็จก็สนุก ยังไม่สำเร็จก็สนุก มีความสุขกับการทำหน้าที่ของตนเอง คนที่คิดและทำอย่างสนุกจะเป็นคนที่ไม่รู้สึกว่าเสียเวลาหรือขาดทุน มีแต่กำไร ถ้าคุณเคยอ่านหนังสือ “เอามัน” ของนาย Linus Torvald ก็จะเข้าใจว่าลีนุกซ์ก็เกิดจากความสนุกของเค้านี่เอง


burlight: สรุปคือ communityต้องพึ่งตัวเอง อย่าหวังพึ่งหน่วยงานรัฐ และขับเคลื่อนโครงการโอเพ่นซอร์สโดยหลักการ 3 ส.

วันอังคาร, กรกฎาคม 18, 2549

ต้องส่งเสริมคนดี ควบคุมคนไม่ดี

"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ....."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ค่ายวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2512

ในบรรดาพระบรมราโชวาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งหมด(จะพูดให้ถูกคือที่ผมเคยได้ฟัง) ผมชอบอันนี้มากที่สุด เพราะ(อย่างที่ท่านได้ดำรัส)คนเรามีหลากหลาย บ้างก็ดี บ้างก็เลว การจะเปลี่ยนคนอื่นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก(เปลี่ยนตัวเองยังเปลี่ยนยากเลย) เพราะฉะนั้นสิ่งที่สังคมควรจะต้องทำคือ "ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" แต่เมื่อใดที่มีคนเลวมากกว่าคนดีแล้ว หรือคนเลวได้ครองเมืองแล้วล่ะก็... วิกฤต! (เหมือนประเทศไทยในยุคปัจจุบัน (-_-')

วิธีแก้
1. เป็นหน้าที่ของคนดีที่จะต้องไม่เพิกเฉย ต้องช่วยกันทำให้คนเลวไม่มีอำนาจบทบาท (จะให้หนักกว่านั้น ต้องช่วยกันรุมประนาม :D )

ดูเพิ่ม
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว