วันพุธ, กรกฎาคม 19, 2549

Individual Attitude to promote Thai open source

ทัศนะระดับบุคคลช่วยพัฒนาโอเพ่นซอร์สไทย

from IT destination blog



ถ้าเรายังทำเฉยๆ ไม่หนุนการใช้ลีนุกซ์/โอเพ่นซอร์สแบบจริงๆจังๆ แล้วล่ะก็วันนึง เราคงได้เสียเงินซื้อซอฟต์แวร์จากประเทศเพื่อนบ้านเราแน่ๆ หรือไม่ก็ถูกแรงงานไอทีของเค้าเข้ามาแย่งงานทำ หรือไม่อาจจะต้องเชิญเค้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการโอเพ่นซอร์สเป็นแน่แท้


วิธีแก้ (จากIT destination blog)
อันที่จริงแล้ว ทั่วโลกเค้าใช้กลไกขับเคลื่อนโอเพ่นซอร์สจากกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น
ทำงานชิ้นเล็กๆ แล้วจึงขยายผลไปทีละเล็กทีละน้อยจนเติบโตแข็งแกร่ง อย่างที่เห็นได้จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สหลายๆ ตัว แม้แต่เคอร์เนลลีนุกซ์ก็เกิดจากคนแค่ 2-3 คนริเริ่มขึ้นเท่านั้น

การที่จะทำให้ภาพความสำเร็จมีความกระจ่างชัดขึ้นได้นั้น จึงต้องเริ่มจากระดับตัวบุคคลก่อนไม่ใช่คาดหวังจากระดับองค์กรหรือภาครัฐ

ซึ่งการเริ่มต้นระดับบุคคลที่ว่านี้ มีหลัก 3 ประการ หรือ 3 ส. คือ

1. ส่วนรวม หมายถึง จะทำอะไรก็เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นความตั้งใจที่อยากเห็นสังคมส่วนรวม(ไอทีในประเทศของเรา) เจริญขึ้น พึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันมีเข้มแข็ง ถ้าแต่ละบุคคลตระหนักถึงประโยชน์ของส่วนรวมแล้วก็จะทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจและนำตนเองพ้นจากอคติทั้งหลาย

2. เสียสละ คือ ยอมที่จะเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีน้อยก็ให้น้อย มีมากก็ให้มาก ไม่ว่าจะเป็นแรงกาย ทรัพย์สิน เวลา สติปัญญา ความรู้ รวมไปถึงความรู้สึกคับข้องที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกับผู้อื่น หากนำความเสียสละคนละเล็กละน้อยมารวมกันย่อมเกิดกำลังที่มากขึ้นได้ซึ่งนำไปสู่ความเจริญของทุกฝ่ายในที่สุด

3. สนุก ข้อนี้สำคัญมาก บุคคลไม่ว่าจะเป็นใครหากทำงานด้วยความสนุกย่อมจะทำได้ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย สำเร็จก็สนุก ยังไม่สำเร็จก็สนุก มีความสุขกับการทำหน้าที่ของตนเอง คนที่คิดและทำอย่างสนุกจะเป็นคนที่ไม่รู้สึกว่าเสียเวลาหรือขาดทุน มีแต่กำไร ถ้าคุณเคยอ่านหนังสือ “เอามัน” ของนาย Linus Torvald ก็จะเข้าใจว่าลีนุกซ์ก็เกิดจากความสนุกของเค้านี่เอง


burlight: สรุปคือ communityต้องพึ่งตัวเอง อย่าหวังพึ่งหน่วยงานรัฐ และขับเคลื่อนโครงการโอเพ่นซอร์สโดยหลักการ 3 ส.

ไม่มีความคิดเห็น: