วันศุกร์, พฤษภาคม 05, 2549

Overprice

การหลอกขายราคาแพง


เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านขนาดเล็กและแผงลอย ต้องถามเอาถึงจะรู้ราคา ปัญหาคือ ผู้ซื้อจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้กำลังถูกผู้ขายหลอกขาราคาแพงเกินจริง? โดยเฉพาะอย่างยิ่งของที่ผู้ซื้อประเมินราคาไม่ถูก

-การหลอกขายราคาแพงนั้น บางครั้งแพงกว่าราคาปกติถึงเท่าตัว อย่างเช่น ของที่เราสามารถซื้อได้400บาท อาจจะถูกหลอกขายที่800บาทได้
-บางคนผู้ขายมีเล่ห์เหลี่ยมในพูดจา ในการแสดงออกทางสีหน้าให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่า ราคาที่เขาขายนั้นถูกมากแล้ว เช่น แสดงความไม่พอใจเมื่อถูกต่อราคา
-ผู้ขายบางคนบอกราคาแพงถูกตามรูปลักษณภายนอกของผู้ซื้อ ถ้าดูมีเงินหรือเป็นคนต่างชาติก็บอกแพง ดูธรรมดาก็บอกราคาถูกลงมา

ผลกระทบ
ผลกระทบที่ตามมามีมากมายตั้งแต่
1. ผู้ซื้อกลัวถูกหลอกขายแพง ทำให้ผู้ซื้อต้องต่อราคาอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งทำให้ผู้ขายได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะได้ และเสียสุขภาพจิตที่ได้กำไรน้อย โดยเฉพาะร้านที่ขายไม่ดี แล้วพยายามขายให้ได้ด้วยการยอมขายราคาถูก
2. จากปัญหาข้างบน(1) ทำให้ผู้ขายต้องตั้งราคาเกินความจริง ไว้เผื่อให้ผู้ซื้อต่อราคา
3. จากปัญหาข้างบน(2) ทำให้ผู้ซื้อที่ไม่ต่อราคาซึ่งอาจจะเป็นด้วยความหวังดีว่าอยากให้ผู้ขายได้กำไรที่ควรได้ แต่กลับถูกหลอกฟันหัวแบะ ทำให้ผู้ซื้อต้องเสียสุขภาพจิตด้วยความเจ็บใจเมื่อมารู้ทีหลังว่าถูกหลอก
4. ผู้ซื้อไม่กล้าซื้อของโดยที่ไม่ได้เช็ค(และต่อรองราคา) กับร้านอื่นหลายๆร้าน ทำให้เวลาที่ใช้ในการนำของไปสู่มือของผู้ใช้ของให้เป็นประโยชน์ ยาวเกินความจำเป็นอย่างไม่เกิดประโยชน์ (ผู้ซื้อต้องเสียเวลาในการที่จะได้ของที่ต้องการ ในทางกลับกันผู้ขายก็เสียเวลาในการที่จะขายของให้ได้) คนในชาติเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ใช้เวลาอย่างไม่เกิดประโยชน์
5. ผู้ซื้อเข็ดขยาด เลิกอุดหนุนซื้อของร้านเล็กๆ หันไปผูกขาดซื้อกับร้านใหญ่มีมาตราฐาน ทำให้ผู้ค้ารายย่อยต้องปิดกิจการ

วิธีแก้ไข
1. ให้มีป้ายบอกราคา ประโยชน์คือ
-ผู้ซื้อทราบราคาและเทียบราคากับร้านอื่นได้ โดยไม่ต้องไปถามผู้ขายให้เสียเวลากันทั้งสองฝ่าย
-จากด้านบน ทำให้เกิดการแข่งขันราคาขึ้น ทำให้ผู้ขายต้องพัฒนาให้เสนอราคาได้ถูกกว่า
2. ผู้ซื้อร่วมใจกันไม่อุดหนุนร้านที่ไม่มีป้ายบอกราคา
3. แล้วเราก็จะได้ราคาที่สมดุลย์ที่ยุติธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และความสุขก็จะเกิดกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ไม่มีความคิดเห็น: